ผัก โขม ประโยชน์

ผัก โขม ประโยชน์

ผัก โขม ประโยชน์ ผักโขม กับปวยเล้ง เหมือนกันไหม ? วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ ประโยชน์ของ ผักโขม กันค่ะ ซึ่งเป็นผักที่เราคุ้นเคยกันดี รสชาติหวานอร่อย นำไปทำได้หลายเมนู ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน และต้นอ่อน จะนำมาลวกหรือต้มให้สุกก็ได้ รับรองว่าภายใต้ความอร่อยที่ซ่อนอยู่นี้ มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพเพียบเลยล่ะค่ะ และจะมีข้อควรระวังในการทานผักโขม อย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

ผักโขมไม่ได้มีรสชาติขมเหมือนที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่กลับมีรสชาติออกหวานหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ กินง่ายแน่นอน แถมยังมีโปรตีนสูง กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุสังกะสี เป็นต้น แต่ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (Oxalate) ผู้ที่เป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณของแคลเซียมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดนี้ในปริมาณมาก ๆ มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้บ้างระดับหนึ่ง

ลักษณะของ ผัก โขม ประโยชน์

ผัก โขม ประโยชน์ ไม้พุ่มเตี้ย โคนต้นมีสีแดงน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม สีเขียวหรือสีแดงตามสายพันธุ์ ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น เมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ

ผักโขม มีชื่อท้องถิ่น ว่า ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน) เป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง หรือป่าละเมาะ ป่ารกร้าง ซึ่งผักโขมมีหลายสายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น รสชาติจะออกหวาน ทานง่าย และมีโปรตีนสูง รวมถึงมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติ

ผักโขม กับ ปวยเล้ง

ผักโขมกับปวยเล้ง คือผักคนละชนิดกัน ในการ์ตูนเรื่องป๊อปอายที่บอกว่าทานผักโขมแล้วเพิ่มพลังได้ แท้จริงแล้ว ผักที่ป๊อปอายทานจริงๆ ก็คือปวยเล้งหรือ Spinach (“สปีแนช”) ซึ่งผักสองชนิดนี้คือสปีชีส์เดียวกัน และคุณสมบัติทางด้านโภชนาการจะคล้ายๆ กันนั่นเองค่ะ (ทำความรู้จัก ปวยเล้ง)

คุณค่าทางโภชนาการ ผักโขม

  • พลังงานทั้งหมด 23 กิโลแคลอรี่
  • ไขมันทั้งหมด 1.6 กรัม
  • ใยอาหาร 2.1 กรัม
  • โปรตีน 3.8 กรัม
  • คลอเรสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 6 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 135 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
  • แคลเซียม 5 %
  • วิตามินบี 6 6 %
  • ไทอามิน 1 %
  • ไนอาซิน 1 %
  • ซิงค์ 6 %
  • เหล็ก 12 %
  • แมกนีเซียม 16 %
  • ไรโบพลาวิน 1 %
  • วิตามินอี 1 %
  • ฟอสฟอรัส 15 %

ประโยชน์ของผักโขม

  1. ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา
  2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  3. ช่วยเสริมสร้างระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้น
  4. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาอาหาร
  5. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  6. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  8. ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร
  9. ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน

ข้อควรระวังในการทาน ผักโขม

เนื่องจากผักโขม เป็นผักใบเขียวที่มีปริมาณสารออกซาเลตค่อนข้างสูง ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เกาต์ ปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณแคลเซียม ควรหลีกเลี่ยงการทานผักขมในปริมาณมาก

สรรพคุณของผักโขม

ช่วยบำรุงกำลังทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ผักโขมมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้ ช่วยบำรุงและรักษาสุขภาพสายตา ป้องกันความเสื่อมของดวงตา มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ชะลอปัญหาความจำเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้คงที่ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร เป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากกับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ เพราะผักโขมอุดมไปด้วยโปรตีน มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ช่วยชะลอความเสื่อมของสายตา ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคดวงตาเสื่อมได้สูงถึง 43%

ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้ถอนพิษไข้ ด้วยการนำรากมาปรุงเป็นยา (ราก) ช่วยดับพิษภายในและภายนอก (ทั้งต้น) วิตามินเคในผักโขมช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ ช่วยแก้อาการตกเลือด ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ (ต้น) ใช้แก้อาการบิด มูกเลือด (ทั้งต้น) ช่วยแก้อาการแน่นท้อง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้สะดวก เพราะมีเส้นใยสูง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก) ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก (ทั้งต้น) ช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือน เพราะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง ใช้แก้ผดผื่นคัน (ทั้งต้น) ช่วยรักษาฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น) ใช้รักษาแผลพุพอง (ทั้งต้น, ใบสด) ช่วยแก้อาการช้ำใน ใช้แก้รำมะนาด (ทั้งต้น) การรับประทานผักโขมจะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและอยู่ท้องนาน จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน แก้อาการเด็กลิ้นเป็นฝ้าละอองและเบื่ออาหาร ซุปผักโขมเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะมีประโยชน์หลากหลายและยังช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่และเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง ผักโขมเป็นผักที่ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี

 

บทความที่เกี่ยวข้อง